วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

Content-Base Instruction


เป็นวิธีการที่ครูจะสอนในแต่ละเนื้อให้  ซึ่งต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสอน


เป้าหมายหลัก
1.เนื้อหาวิชาอื่นจะถูกใช้เพื่อใช้ในการเรียนรู้ภาษาด้วย
2.เน้นการใช้ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
3.เมื่อผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาที่สอดคล้องกับประสบการณ์เดิมก็จะเป็นตัวกระตุ้นได้
4.ครูสอนแบบscaffold(จากง่ายไปยาก)  โดยให้นักเรียนสร้างประโยคแล้วครูจึง่วยเติมเต็ม
5.ภาษาจะรียนได้ดีก็ต่อเมื่อใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างนักเรียน
6.คำศัพท์จะง่ายขึ้นเพราะมีการใช้ในบทความ
7.ถ้าผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องจริง  เขาต้องมีการช่วยเหลือของตัวภาษา
8.ผู้เรียนเรียนรู้ภาษาและเนื้อหาโดยใช้สื่อของจริง
9.ความสามารถในการอ่าน  อภิปราย  และเขียน

Lersen-Freeman, D. (2000). Techniques  and  Principles  in  Language  Teaching.  Hong  Kong :  Oxford  University  Press.p. 137-141.

Communicative Language Teaching



     เป็นหัวใจสำคัญในการสอนปัจจุบัน  จุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ภาษาเป้าหมายในการสื่อสาร  เน้นการเรียนรู้โครงสร้างทางไวยากรณ์และคำศัพท์

Communicative  competence(ใช้สื่อสารความรู้  ความเข้าใจ)
1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างประโยค
2.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ภาษาทางสังคม
3..มีความรู้ความเข้าใจในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของประโยคต่างๆ
4..มีความรู้ความเข้าใจในการใช้กลยุทธ์ในการสื่อสาร

ต้องมีลักษณะดังนี้
1.รู้ว่าจะต้องใช้ภาษาในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
2.รู้ว่าจะต้องใช้ในสถาการณ์แบบใด
3.เข้าใจเรื่องของบทความที่แตกต่างกันออกไป
4.เข้าใจเรื่องที่จะสื่อสารในขณะที่เรารู้อย่างจำกัด  โดยใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันออกไป

ลักษณะพิเศษของCLT
1.ให้บรรลุเป้าหมายของหัวใจสำคัญทั้งสี่อย่าง
2.ความสัมพันธ์ของform กับ function
3.เน้นการใช้ภาษาได้อย่าถูกต้องและคล่องแคล่ว
4.นึกถึงบริบทถึงสถานการณ์จริงของผู้เรียน สื่อของจริง
5.ผู้เรียนรับผิดชอบงานต่างๆด้วยตัวเอง  ต้องเข้าใจและพัฒนากลยุทธ์ต่างๆ
6.ครูเป็นแค่ผู้ให้ความสะดวกและให้คำแนะนำ
7.บทบาทนักเรียนเป็นผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนอย่างกระตือรือร้น

เป้าหมายหลัก
1.ให้เกิดการสื่อสารจริงๆให้ได้
2.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทดสอบ  ทดลองสิ่งที่ผู้เรียนรู้
3.ต้องอดทนกับความผิดพลาดของผู้เรียน  เพราะว่าการที่ผู้เรียนผิดพลาด  แสดงว่าเขากำลังสร้างcommunicative  competence
4.ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว
5.เชื่อมโยงทักษาการพูด  อ่าน  ฟัง ให้สัมพันธ์กัน
6.ให้ผู้เรียนสรุปกฏเกณฑ์เอง  เรียนแบบอุปนัย

ขั้นตอนการสอน :  PPP  approach

Warm  up ==> Presentation ==> Practice ==> Production ==> Wrap up

Presentation : นำเสนอเนื้อหา
Practice : ให้นักเรียนฝึก  โดยครูต้องควบคุมอยู่
Production : ให้นักเรียนฝึกแบบอิสระ  เน้นการนำเนื้อหาที่เรียนใช้ในสถานการณ์จริง  ควรออกมาเป็นชิ้นงาน

Mechanical  practice 
>>>ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเข้าใจตัวภาษาก็ได้  เป็นการฝึกแบบrepetition  drills  คือการฝึกซ้ำๆ  หรือsubstitution  drills   คือการฝึกแทนคำบางคำ
Meaningful  practice
>>>เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกตัวภาษามาใช้เอง  แบบฝึกหัดการเติมคำหรือเลือกคำ
Communicative  practice 
>>>เปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกใช้ภาษาในบริบทที่ถูกต้อง  เข้าในสถานการณ์จริง

เทคนิคการสอน
1.ใช้สื่อของจริง
2.จัดลำดับของประโยคใหม่
3.ใช้การเล่นเกม : ช่องว่างของข้อมูล
4.ใช้แถบของเรื่องราว  แล้วแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน  จากนั้นนำมาเรียงเหตุการณ์
5.การแสดงบทบาทสมมุติ ครูบอกบท ,  ครูบอกสถานการณ์  ผู้เรียนคิดบทเอง

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

Total Physical Response (TPR)


ผู้เรียนจะต้องเรียนภาษาในบริบทที่มีความสนุกสนาน และมีเครียดน้อยที่สุด
ซึ่งจะใช้สมองซีกขวามากกว่าซีกซ้าย

ลักษณะพิเศษ...
1.  ครูทำหน้าที่กำกับ นักเรียนเป็นนักแสดง โดยใช้ท่าทางประกอบภาษานั้นๆ
2.  ฟังและตอบสนองภาษาด้วยท่าทางร่างกาย
3.  ภาษาคำสั่ง มีลักษณะขึ้นต้นด้วยคำกริยา
4.  ถ้ามีโอกาส ครูจะต้องใส่มุขขำๆลงไปเวลาสั่ง
5.  นักเรียนจะไม่พูดจนกว่าจะพร้อมแสดงออกมา
6.  เน้นไวยกรณ์ คำศัพท์ เน้นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน


ขั้นตอนการสอน
1.  ครูออกคำสั่งเป็นภาษาเป็นภาษาเป้าหมาย และทำท่าทางพร้อมนักเรียน
2.  นักเรียนอาสา
3.  เมื่อเด็กเข้าใจแล้ว ก็เพิ่มคำสั่งใหม่
4.  สั่งคำสั่งที่เด็กไม่เคยได้ยินมาก่อน
5.  เขียนคำสั่งบนกระดาน


เทคนิคการสอน
1.  ใช้คำสั่ง
2.  สลับบทบาท
3.  ใช้คำสั่งที่มีเป็นลำดับขั้นตอน

The Silent Way


เป็นวิธีการสอนแบบเงียบๆ
เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเรียนรู้และสร้างสรรค์ด้วยตนเอง ซึ่งการเงียบแสดงว่าผ้เรียนกำลังมีกระบวนการคิดอยู่


ขั้นตอนการสอน
1.  สอนการออกเสียง โดยใช้ Sound-Color-Chart
2.  สอนการสร้างคำ โดนใช้ Rods (แท่งไม้สี่เหลี่ยม)
3.  อ่านและเขียนประโยค


เทคนิคการสอน
1.  Sound-Color-Chart
2.  ครูเงียบ
3.  ให้เพื่อนแก้ไขให้
4.  Rods (แท่งไม้สี่เหลี่ยม)
5.  ใช้ท่าทางในการบอกใบ้
6.  Word Chart คำที่มีสีแตกต่างกัน ใช้สีแทนเสียงต่างๆ
7.  ให้ข้อมูลย้อนกลับ

Audiolingual Method (ALM)

ลักษณะพิเศษ...
1.  สื่อบทเรียนเป็นแบบสนทนา
2.  เรียนแบบเข้มข้น เน้นท่องจำ
3.  โครงสร้างถูกจัดเรียงแบบง่ายๆ เรื่องไหนที่เกี่ยวข้องจะสอนทีเดียวเลย
4.  โครงสร้างไวยกรณ์ สอนโดยการฝึกแบบซ้ำๆ
5.  ดูตัวอย่างประโยค แล้วค่อยอธิบาย
6.  รู้คำศัพท์แบบจำกัด ขึ้นอยู่กับบริบทต่างๆ
7.  ใช้เครื่องมือเกี่ยวกับการฟัง ในการเรียนรู้
8.  การออกเสียงสำคัญอย่างยิ่ง
9.  ใช้ภาษาแม่ แต่น้อยมาก
10. ครูจะพูดเสริมแรง
11.  ต้องให้เด็กพูดไม่ผิดไวยกรณ์
12. ใช้ภาษาสอดคล้องกับเนื้อหา


ขั้นตอนการสอน
1.  ให้นักเรียนฟังบทสนทนา
2.  ให้เด็กว่าตามหลายๆครั้ง
3.  ฝึกพูดประโยค
4.  ฝึกบทสนทนาพร้อมกันทั้งห้อง, เป็นกลุ่ม, เป็นคู่, เป็นรายบุคล
5.  นำบทสนทนามาใส่ข้อมูลของตัวเราเอง


เทคนิคการสอน
1.  จดจำบทสนทนา
2.  ฝกจาหลัง มาหน้า
3.  ฝึกแบบซ้ำๆ
4.  สอนแบบลูกโซ่ คือถามต่อไปเรื่อยๆ
5.  เปลี่ยนคำศัพท์เป็นคำอื่นบ้าง
6.  เปลี่ยนประโยค เป็นประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ และประโยคคำถาม
7.   ฝึกการถาม-ตอบ
8.  ฝึกออกเสียงคำที่ใกล้เคียง
9.  เติมคำในบทสนทนาให้สมบูรณ์